Management of information technology

surattana.wordpress.com

ระบบ Cloud คืออะไร และ Cloud ดีอย่างไร

on September 2, 2014

           

                Cloud คือการทำงานร่วมกันของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก โดยแบ่งชั้นการประมวลผลออกจากชั้นเก็บข้อมูล
ชั้นการประมวลผล (Computing layer) เป็นการร่วมกันทำงานของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก แม้มีเซิร์ฟเวอร์ใดเสียหาย ก็จะไม่มีผลกับการใช้งานของลูกค้า เพราะจะสวิทช์การทำงานไปยังเซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นแทนโดยอัตโนมัติในทันที เว็บหรือเซิร์ฟเวอร์เสมือนของท่านจะทำงานประมวลผลในชั้นนี้ ซึ่งระบบจะแบ่งทรัพยากร CPU, Memory ให้ตามจำนวนที่ท่านใช้งาน และแยกทรัพยากรกับผู้อื่นอย่างชัดเจน พร้อม Firewall ป้องกันระบบของท่านจากผู้ใช้อื่น
ชั้นเก็บข้อมูล (Storage layer) เป็นการทำงานร่วมกันของระบบเก็บข้อมูลแบบ SAN ที่มีความเสถียร และความเร็วสูง โดยสามารถย้ายไปใช้งาน SAN สำรองได้ทันทีที่เกิดเหตุขัดข้องเสียหายของอุปกรณ์หลัก โดยส่วนใหญ่จะใช้ SAN อย่างน้อย 2 ตัว ซึ่งมีข้อมูลที่เหมือนกัน (Replicate) ตลอดเวลา ข้อมูลต่างๆ ของลูกค้าจะถูกเก็บไว้ที่ชั้นนี้
เครือบข่ายเน็ตเวิร์คความเร็วสูง จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างชั้นการประมวลผล และชั้นเก็บข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างทันใจตลอดเวลา
ระบบ Cloud บางแบบยังรองรับการขยายหรือหดตัวโดยอัตโนมัติสำหรับเซิร์ฟเวอร์เสมือน หรือเว็บของลูกค้า เมื่อการใช้งานเพิ่มหรือลด ตามที่ได้กำหนดไว้
ดังนั้น ด้วยระบบ Cloud แท้จริง โดยการทำงานร่วมกันของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก และการแยกส่วนของการทำงานแบบเป็นระบบนี้ ทำให้การทำงานของเว็บหรือเซิร์ฟเวอร์เสมือนของท่าน ไม่ติดขัด และมั่นใจได้ตลอดเวลา แตกต่างจากเว็บโฮสติ้ง หรือ เซิร์ฟเวอร์ธรรมดาทั่วไป ที่หากเกิดการติดขัดเสียหายของอุปกรณ์นั้นๆ ก็จะทำให้การทำงานหยุดลงโดยไม่มีระบบทดแทน

ระบบคลาวด์อยู่ที่ไหน

             จากความแตกต่างของคลาวด์ในหลายๆ ประเภท บริการคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) ผู้ที่สามารถใช้บริการจะเป็นเพียงพนักงานขององค์กรนั้นเท่านั้น สิทธิความเป็นเจ้าของและการบริหารจัดการจะเป็นขององค์กรลูกค้า ถึงแม้ว่าการบริหารจัดการภายในจะทำโดยซัพพลายเออร์ภายนอก หรือผู้ให้บริการภายนอกที่เรียกว่า IT outsourcing (ITO) service ก็ได้
คลาวด์แบบกลุ่มที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันร่วมกัน (Community Cloud) คือ คลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) ที่เปิดให้หลาย ๆ องค์กรสามารถเข้าใช้งานร่วมกันได้ โดยพนักงานขององค์กรนั้นและพนักงานขององค์กรอื่นที่ได้รับอนุญาต
   คลาวด์แบบสาธารณะ (Public Cloud) คือ คลาวด์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้งานได้ ตัวอย่างเช่น บริการคลาวด์ของอเมซอน Amazon Elastic Compute Cloud (EC2) หรือของ Google อย่าง Gooel App Engine
ประเด็นสุดท้ายสำหรับองค์กรที่ต้องพิจารณาในระยะยาวคือ การประยุกต์ใช้คลาวด์ในแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมร่วมกัน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า คลาวด์แบบผสม (Hybird Cloud) ซึ่งโดยมากเป็นการผสานการทำงานระหว่างคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) กับคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud)


Leave a comment